วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2551

คอมพิวเตอร์เบื้องต้น

— ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. Super Computer
2. Mainframe Computer
3. Mini Computer
4. Micro Computer/Personal Computer
4.1 Desktop Computer
4.2 Notebook Computer
4.3 Palm/ Pocket PC

— BIOS (Basic Input/Output System) เป็นชุดของCode ที่ฝังอยู่ในเครื่องคอม ซึ่งจัดการงานพื้นฐานในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่าง Hardware ต่างๆ ในเครื่องคอม.

— CPU(Central Processing Unit/Microprocessor) เป็นไมโครชิปที่ประมวลผลข้อมูลและcode (คำสั่ง) ที่ใช้งานโดยคอม. หรือเปรียบเสมือนสมองของคอม นั่นเอง

— Clock เป็นชิปที่กำหนดช่วงเวลาและความเร็วการทำงานของคอม ในชิปประกอบด้วยคริสตัลที่มีการสั่นด้วยความถี่คงที่ตลอดเวลา เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านช่วงเวลาที่สั้นที่สุดที่คอม สามารถทำงานหนึ่งคำสั่งเสร็จเรียกว่า 1 clock หรือการสั่น 1 ครั้งของชิปคล็อก
หน่วยวัดที่นิยมวัดความเร็วของคอม คือMegahertz (MHz) ซึ่ง 1 MHz= ล้านรอบ (1,000,000 )การทำงานใน 1 วินาที

— หน่วยความจำ (Memory) แบ่ง 2 ชนิด (ROM,RAM)
1. ROM (Read-Only Memory) สมัยก่อนจะบันทึกข้อมูลตายตัว แก้ไขไม่ได้ และข้อมูลจะคงอยู่แม้ไม่มี
กระแสไฟฟ้ามาเลี้ยง (Non-Volatile) ปัจจุบันสามารถแก้ไขได้ เพราะใช้หน่วยความจำที่เรียกว่า Flash ROM โดยหน่วยความจำแบบนี้นำไปใช้เป็น ROM BIOS ซึ่งสามารถพบเห็นได้ทั่วไปบนเมนบอร์ดในปัจจุบัน โดยภายในจะบรรจุโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ สำหรับการเริ่มต้นกระบวนการบู๊ต (Boot) ของเครื่องคอม หรือเริ่มต้นการทำงานเมื่อเปิดเครื่อง ก่อนที่จะส่งต่อภาระให้CPU ทำงานตามคำสั่งหรือโปรแกรมที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ RAMต่อไป
ชนิดของ ROM มีหลายชนิด
1.1 ROM ธรรมดา บรรจุคำสั่ง/โปรแกรมมาจากโรงงานเลย ไม่สามารถแก้ไขข้อมูลภายในได้
1.2 PROM (Programmable ROM) สามารถแก้ไข/นำมาบรรจุคำสั่ง/โปรแกรมใหม่ได้ 1 ครั้ง
1.3 EPRPM (Erasable PROM)
1.4 EEPROM
1.5 Flash Memory พัฒนามาจากEEPROM โดยสามารถลบ+บรรจุคำสั่ง/โปรแกรมใหม่ได้ด้วยการกระตุ้นด้วยแรงดันไฟฟ้าเช่นเดียวกัน ปัจจุบันนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เพราะมีข้อดีหลายอย่าง เช่น เก็บข้อมูลไว้ได้โดยไม่ต้องอาศัยไฟเลี้ยง สามารถแก้ไขข้อมูล ณ ตำแหน่งใดๆ ที่อยู่ภายในได้โดยตรงโดยไม่ต้องล้างข้อมูลเดิมทั้งหมดทุกตำแหน่งก่อน สามารถพัฒนาให้มีความจุมากขึ้นนับร้อยMB ได้ มีราคาถูก และยังถูกนำไปใช้กับอุปกรณ์อื่นๆ ที่ต้องการความจุสูง และสามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาแม้ไม่มีไฟเลี้ยง เช่น กล้องดิจิตอล เครื่องเล่นเพลงแบบMP3 และอุปกรณ์บันทึกข้อมูลแบบพกพาได้ (Flash Memory) เป็นต้น
แต่ROM ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นชนิดใด ก็มีหน้าที่เดียวกัน คือ เก็บโปรแกรมและคำสั่งพื้นฐานที่สำคัญต่างๆ เช่น BIOS(Basic Input Output System) ที่ใช้สำหรับการเริ่มต้นกระบวนการบู๊ต (Boot) ของเครื่องคอมหรือเริ่มต้นกาทำงานเมื่อเปิดเครื่อง ก่อนที่จะส่งต่อภาระให้ CPU ทำงานตามคำสั่ง/โปรแกรมที่ถูกเก็บไว้ในหน่วยความจำ RAM ต่อไป
2. RAM (Random Access Memory) เป็นหน่วยความจำชนิดที่สามารถบันทึก ลบ หรือแก้ไขข้อมูลได้
ตลอดเวลา ตราบใดที่วงจรยังมีกระแสไฟมาเลี้ยงอยู่ ทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นสมุดบันทึกเล่มใหญ่ที่CPU ใช้ทำงาน ทั้งการจดบันทึกข้อมูล คำสั่ง ทดเลขในการคำนวณ ฯลฯ แต่ข้อมูลทั้งหมดจะหายไปเมื่อปิดเครื่อง (Volatile) จึงต้องย้ายข้อมูลไปบันทึกเก็บในอุปกรณ์สำรองข้อมูลอื่นๆ เช่น ฮาร์ดดิสก์ และฟล็อปปี้ดิสก์ ก่อนปิดเครื่อง
ชนิดของRAM
2.1 Static RAM (SRAM) -ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีไฟ ” กับ “ไม่มีไฟ ”
ข้อดี -สามารถเก็บข้อมูลไว้ได้ตลอดเวลาตราบใดที่ยังมีกระแสไฟเลี้ยงวงจรอยู่
-มีความเร็วในการทำงานที่สูงกว่า DRAM มาก เกือบ=CPU
-ใช้กระแสไฟมากกว่า ทำให้เกิดความร้อนสูง +วงจรขนาดใหญ่กว่า
- นำมาใช้ทำ Cache Memory
ข้อเสีย -ราคาแพง+สิ้นเปลืองพลังงานไฟฟ้า มากกว่า ทำมาจาก Flip-Flop นั้น ไม่จำเป็นต้องมีการ Refresh
แต่ SRAM จะกินไฟมากกว่า DRAM อันเนื่องจากการใช้ Flip-Flop นั่นเอง
-ไม่สามารถผลิตให้มีความจุสูงๆ ภายในไอซี/ชิปเพียงตัวเดียวได้ ถ้าใส่ SRAM ล้วนๆ ในเครื่องคอม จะต้องมีระบบระบายความร้อนแบบพิเศษ จึงไม่นิยมนำมาทำ Main Memory แต่จะนำไปทำ Cache Memory ภายในCPU เท่านั้น

2.2 Dynamic RAM (DRAM) -ทำจากวงจรที่ใช้เก็บข้อมูลด้วยสถานะ “มีประจุ ” กับ “ไม่มีประจุ ”
ข้อดี -ใช้พลังงานน้อยกว่า SRAMมาก
- ราคาถูกกว่า
ข้อเสีย - แต่ประจุไฟฟ้าจะมีการรั่วไหลออกไปเรื่อยๆ จึงต้องมีวงจรอีกส่วนทำหน้าที่ “เติมประจุ” ไฟฟ้า
ให้เป็นระยะๆ เรียกว่า (Refresh) (ต้องมีไฟเลี้ยงตลอดเวลา และนอกจากไฟเลี้ยงแล้ว
DRAM ยังต้องการ การ Refresh ข้อมูลเป็นระยะๆ เสมือนการเตือนความทรงจำ)
-มีความเร็วในการทำงานช้ากว่าSRAM
ความเร็วของ RAM คิดกันอย่างไร
ที่ตัว Memory chip จะมี เลขรหัส เช่น HM411000-70 ตัวเลขหลัง (-) คือ ตัวเลขที่บอก ความเร็วของ RAM ตัวเลขนี้ เรียกว่า Access time เวลาที่เสียไป ในการที่จะเข้าถึงข้อมูล หรือ เวลาที่แสดงว่า ข้อมูลจะถูก ส่งออกไปทาง Data bus ได้เร็วแค่ไหน ยิ่ง Access time น้อยๆ แสดงว่า RAM ตัวนั้น เร็วมาก


Partition : ส่วนที่ถูกกำหนดให้เป็นพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลของ Harddisk โดยที่ระบบปฏิบัติการ/ซอฟแวร์ต่างๆ นั้น
จะต้องจัดเก็บลงในHarddisk เพื่อเรียกขึ้นมาใช้งาน ซึ่งโดยส่วนมาก ถ้าเราซื้อHarddisk มาใหม่ๆ ทางผู้จัดจำหน่ายก็จะสร้างพาร์ติชันมาให้แล้ว ทำให้สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการลงไปได้ทันที แต่หากยังไม่มีพาร์ติชัน เราจำเป็นต้องสร้างพาร์ติชันขึ้นมาเพื่อลงระบบปฏิบัติการ
พาร์ติชัน มี 3 ประเภท
1. Primary ใช้สำหรับบู้ตเครื่องและลงระบบปฏิบัติการ ในHarddisk 1 ลูก จะมีได้สูงสุด 4 พาร์ติชัน
2. Extended จะสร้างได้เพียง 1 พาร์ติชันแต่ยังสามารถพื้นที่เพื่อสร้างเป็นพาร์ติชันแบบ Logical ได้อย่างไม่จำกัด
3. Logical
การสร้างพาร์ติชันแบบ Primary ขึ้นมา >1 พาร์ติชัน ทำให้สามารถเลือกบูตเครื่องจากพาร์ติชันใดก็ได้ มีปย. ในการลงOS หลายตัว ในเครื่องเดียวกัน โดยต้องกำหนดสถานะ Active ให้กับพาร์ติชัน ของระบบOSที่ต้องการเข้าไปใช้งานเพียง 1 ตัว

ระบบไฟล์ในการจัดเก็บข้อมูล
ระบบไฟล์(File System) : วิธีในการจัดเก็บข้อมูลของ Harddisk ซึ่งระบบ OS ของ Windows มีระบบไฟล์ 3 แบบ
1. FAT (File Allocation Table) หรือ เรียก FAT 16 เพราะใช้ระบบ 16 บิต
- ใช้กับ DOS,Windows 3.x/95/98/Me/2000/NT
- รองรับ Harddisk ที่มีความจุไม่เกิน 2 GB (ถ้า Harddisk ความจุมากกว่านี้ ต้องแบ่งเป็นพาร์ติชันย่อยๆ และขนาดCluster ก็จะมีขนาดใหญ่ตามความจุของHarddisk ด้วย)

2. FAT 32 (File Allocation Table 32) เพราะใช้ระบบ 32 บิต
- ใช้กับ Windows 95/98/Me/2000/NT
- ใช้กับ Harddisk ที่มีความจุมากได้
- Cluster มีขนาดน้อยกว่า FAT ไม่เปลือง พ.ท. ในการจัดเก็บข้อมูลของ Harddisk
- มีข้อจำกัด คือไม่สามารถจัดการไฟล์ใดๆ ที่มีขนาดเกินกว่า 4 GB

3. NTFS (New Technology File System)
- ใช้กับ Windows 2000/NT/XP
- ใช้กับ Harddisk ที่มีความจุมากได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 400 MB โดย NTFS จะมีความน่าเชื่อถือและสร้างความปลอดภัยให้กับข้อมูลได้มากกว่า FAT 32